ธุรกิจไทยในเวทีโลก

“ทุนวัฒนธรรม” สู่..เศรษฐกิจฐานความรู้

 

ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการเติบโตเพิ่มขึ้นในด้านอุตสาหกรรมในแง่ของผลิตภัณฑ์ การจัดการและการตลาดจนสามารถไปยืนอยู่ในระดับโลกได้ อุตสาหกรรมบริการขนาดกลางและขนาดเล็กได้รับการกระตุ้นและสนับสนุนเป็นพิเศษ ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นจุดศูนย์กลางหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รัฐบาลไทยได้คาดหวังว่า จะพัฒนาประเทศให้กลายเป็นศูนย์กลางด้านแฟชั่น อัญมณี รวมถึงการเป็นศูนย์กลางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและการรักษาพยาบาล การบริการเหล่านี้เป็นเพียงทางเดียวที่ประเทศไทยได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมุ่งหมายที่จะเป็นศูนย์สุขภาพแห่งทวีปเอเชีย

พร้อมทั้งการพัฒนาให้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งผลิตภัณฑ์อาหารเชิงนวัตกรรม ด้วยเหตุที่ว่าประเทศไทยมีกิตติศัพท์ที่เลื่องลือด้านการผลิตอาหารและการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรด้วยมาตรฐานระดับโลก รวมทั้งเป็นต้นตำรับของอาหารไทยที่โดดเด่นหรือการทำอาหารไทย เพื่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนอย่างมีประสิทธิผล ข้อมูลทางด้านเทคโนโลยียังเข้ามามีบทบาทสำคัญยิ่งในการวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพในระดับนี้

ด้วยเป้าหมายในการปรับปรุงผู้ให้บริการการแข่งขันของโลก จึงจำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวและสร้างแบบแผนการรับรู้และเข้าใจทางด้านสังคมที่จำเป็นสำหรับทรัพยากรบุคคลให้มีศักยภาพอย่างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการเอาใจใส่การขับเคลื่อนอย่างอิสระของบรรดาผู้ให้บริการและแรงงานที่มีทักษะในปี ๒๕๕๘ ที่จะมาถึงพร้อมประชาคมอาเซียน

นอกเหนือจากการเตรียมการอย่างเร่งด่วนของทุนมนุษย์ที่ต้องการของประชาคมอาเซียน อีกด้านหนึ่งที่ต้องตระหนักคือการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว ที่มีผลเกี่ยวเนื่องกับโลกาภิวัตน์ และความนำสมัยอย่างต่อเนื่อง นั่นคือสังคมไทยกำลังตกอยู่ในอันตรายต่อการสูญเสียซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม โดยปราศจากความสมดุลด้วยคุณค่าและความเชื่อที่ดาษดื่นมาหลายรุ่น

คนไทยอาจจะเสียคุณลักษณ์ของชาติและมรดกทางวัฒนธรรมได้ง่ายมาก ในการแลกมาซึ่งรูปลักษณ์ที่เหนือกว่าและความเป็นสากลนิยม ในระยะยาวนั้นคนรุ่นใหม่อาจจะตระหนักในทุนทางปัญญาของพวกเขาน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งเรียกว่า “ทุนทางปัญญาแห่งความเป็นไทย”

ประเทศไทยกำลังมุ่งไปสู่การบูรณาการในภูมิภาคอย่างบริบูรณ์ ด้วยการก่อตั้งสมาคมเอเชียอาคเนย์ (ASEAN) ในปี ๒๕๕๘ ซึ่งประกอบด้วย ๓ เสาหลักใหญ่ คือ ชุมชนเศรษฐศาสตร์อาเซียน ชุมชนสังคมวัฒนธรรมอาเซียน และชุมชนการเมืองความมั่นคงอาเซียน

ประเทศไทยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งหนึ่งของอาเซียนมาตั้งแต่ต้น เป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ดังระบุในคำแถลงการณ์กรุงเทพมหานคร ความคาดหวังคือประเทศไทยจะเล่นบทผู้นำในการสนองตอบความปรารถนาของประชากรอาเซียน จำนวนราว ๖๐๐ ล้านคน

เนื่องจากมีความสำคัญในการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของบรรดาประเทศในภูมิภาค จึงจำเป็นต้องมีการจัดการโภคทรัพย์และทุนของเราเนื่องด้วยการเติบโตดังกล่าว และยังคงไว้ซึ่งความยั่งยืนและความมีเสถียรภาพของการเจริญเติบโตก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน

การพัฒนาทุนมนุษย์อาจจะเป็นประโยชน์ที่สำคัญที่สุดในการสร้างโภคทรัพย์ให้มากขึ้นบนมรดกของชาวเอเชียและความเป็นไทยของเรา และภูมิปัญญาประเพณีได้สรรค์สร้างผู้ชนะผลิตภัณฑ์บริการทางวัฒนธรรม ซึ่งทำให้ประเทศมีความแตกต่างและเข้มแข็งพร้อมทั้งมีจุดยืนในภูมิภาคในการแข่งขันกับสากลโลก

Visitors: 47,404