คุณลักษณะพึงประสงค์

 

เกณฑ์บ่งชี้คุณลักษณะของความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ที่เชื่อมโยงระหว่างทักษะ ความรู้ ความสามารถเชิงวิชาการตามมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละระดับ ประเภททักษะ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์หรือสมรรถนะจากการปฏิบัติงาน ตามความต้องการของแต่ละกลุ่มสาขาวิชา/วิชาชีพ

 

ความรู้ (Knowledge) หมายถึง ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เกิดจากการซึมซับข้อมูลผ่านการเรียนรู้ (Assimilation of Information Through Learning) ซึ่งเป็นความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง หลักการ ทฤษฎีและแนวปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เรียน/ทำงาน โดยเน้นความรู้เชิงทฤษฎีและ/หรือข้อเท็จจริงเป็นหลัก (Theoretical and/of Factual)

 

ทักษะ (Skill) หมายถึง ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ (Apply Knowledge) และความสามารถในการใช้วิธีการเพื่อการจัดการและแก้ปัญหาการทำงาน โดยเน้นทักษะด้านกระบวนการคิด (Cognitive Skills) ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ตรรกะ ทักษะ การหยั่งรู้ และความคิดสร้างสรรค์ (Logical, Intuitive, and Creative Thinking) หรือทักษะการปฏิบัติ/วิธีปฏิบัติที่มีความคล่องแคล่ว และความชำนาญในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ (Manual Dexterity and the use of Methods, Materials, Tools and Instruments)

 

สมรรถนะ (Competency) หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติงานที่เกิดจากการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. สมรรถนะแกนกลาง (Core Competency) หมายถึง ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะทั่วไปที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น การสื่อสาร การคำนวณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีม เป็นต้น

2. สมรรถนะวิชาชีพ (Occupational (Core Competency) หมายถึง ความรู้ ความสามรถ และทักษะเฉพาะในการปฏิบัติงานในแต่ละสาขางานหรือสาขาวิชาชีพ

 

จะเห็นได้ว่าหลักสูตร “ทุนคนไทย” สามารถนำไปพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้และทักษะเกี่ยวกับในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และการให้การบริการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ นั้น มีทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองทุนหมู่บ้าน ผู้ประกอบการทุกระดับ เป็นต้น  

  

 

Visitors: 62,857