ข่าวประชาสัมพันธ์ (1)


เปิดยุทศาสตร์ "ทุนคนไทย"
ยกระดับท้องถิ่นไทย...สู่เวทีโลกอย่าง "ผู้นำ"
โดย ดร.หญิงฤดี ภูมิศิริรัตนาวดี
(22 สิงหาคม 2566)
ขณะที่โลกกำลังจัดระเบียบใหม่ในแทบทุกด้าน ผู้ที่เท่าทันจึงจะรอดสู่อนาคตอย่างยิ่งยืน ประเทศไทยทุกวันนี้ก็ต้องเผชิญภาวะผันผวนมากมาย ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงรอบด้าน ดร.หญิงฤดี ภูมิศิริรัตนาวดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทางปัญญาสร้างสรรค์ (Intellectual Capital) และการสร้างแบรนด์แห่งชาติ (Country as a brand) ได้เสนิยุทธศาสตร์ "ทุนคนไทย" แก้ปัญหาชาติ ยกระดับสู่ความเป็นผู้นำในเวทีโลกใหม่ โดยเรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่ง "พัฒนาทักษะทุนคนไทย" เพื่อสร้างพลังทุนคนไทยทั้ง 67 ล้าน เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ และพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ก่อนสายเกินไป

ประเทศไทยจะปรับตัวรับมือกับความผันผวน และก้าวสู่โลกใหม่ได้อย่างผู้นำ จะต้องสร้างประเทศให้เป็นสังคมฐานความรู้ (Khowledge & skill-based Society) ภายใต้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่เน้นการพัฒนาแบบองค์รวม โดยยกระดับการเมืองและสังคม ให้ก้าวไปพร้อม ๆ กับคามก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากภูมิปัญญาอันเป็นมรดกชาติ เพื่อนำพาคนทั้งหมดสู่อนาคตอย่างมีรากฐานแข็งแรง
ดร.หญิงฤดี ภูมิศิริรัตนาวดี ได้ทำการศีึกษายุทธศาสตร์ "ทุนคนไทย" มาตั้งแต่ ปี 2549 เพื่อพัฒนาเครื่องมือที่จะแปลงภูมิปัญญาของชาติ นำไปสู่กระบวนการสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) อย่างแท้จริง ด้วยเล็งเห็นว่า
"ทุนคนไทย คือ DNA ของชาติ และเป็นทุนที่ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้ เรามีทุนวัฒนธรรมที่เป็นทุนทางปัญญาของชาติ และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น หากนำมาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนและจุดแข็งของประเทศ ก็จะผลักดันให้ไทยกลายเป็นผู้นำในเวทีโลกอย่างที่ไม่มีชาติใดลอกเลียนแบบได้"
"ความเป็นคนไทย" (Thainess Capital) นั้น สามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ของประเทศได้ โดย "ทุนคนไทย" (Thainess Capital) เป็นทรัพย์สินที่สั่งสมมาตั้งแต่บรรพกาล ไม่ต้องซื้อหา มีอยู่ในตัวคนไทยทุกคน และใช้ได้ไม่มีวันหมด
หลักการของยุทธศาสตร์ "ทุนคนไทย" เมื่อนำไปสร้างเป็นกระบวนการสร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ประเทศ 3 ประการ ได้แก่
1. ช่วยเพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยการพัฒนาศักยภาพจากทุนที่มีอยู่ในตัว
2. ช่วยกระจายรายได้ถึงระดับรากหญ้า เป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม
3. ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชากรพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน
หลักการดังกล่าวจึงเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความโดดเด่น แสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทยที่มีอยู่แล้วในแต่ละหมู่บ้าน 70,000 กว่าแห่งทั่วประเทศ นำไปสู่การยกระดับสินค้าและบริการของประเทศไทย ให้กลายเป็ฯนวัตกรรมที่มีตราสินค้าชัดเจ้นมากว่า 70,000 ตรา ที่แตกต่างจากสินค้าและบริการของประเทศอื่น ๆ เพื่อรองรับการก้าวสุ่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซีน (AEC)
ยุทธศาสตร์ "ทุนคนไทย" เป็นกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ ทุนบุคคล ทุนบริการ และทุนสินค้า
ทุนบุคคล (Personomics) เป็นขั้นตอนของการคิดใหม่ (Re-Thinking) โดยใช้ทุนทางภูมิปัญญาในการเพิ่มมูลค่า (Value Creation) นำไปพัฒนาคน มีกระบสนการเริ่มตั้งแต่การปรับระดับจิตใต้สำนึก ไปสู่ระดับจิตสำนึก จนกลายเป็นภาษากายที่สามารถสื่อสร้างได้แบบมืออาชีพ โดยใช้เครื่องมือจัดการความรู้บุคคล อาทิ NPL, Mind Map และ Cognitive Tools
ทุนบริการ (Serviconomics) เป็นขั้นตอนการสร้างภาพลักษณ์ที่น่าประทับใจ (Re-Brand) โดยการพัฒนาภาษาบริการแห่งชาติ ด้วยบุคลิกลักษณะของคนไทยจากสัมผัสทั้ง 7 เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการอย่างมีเอกลักษณ์
ทุนสินค้า (Thainess products) เป็นขั้นตอนพัฒนาสินค้าให้มีศักยภาพพร้อมแข่งขันในตลาดโลก (Re-Product) โดยการใช้ภูมิปัญญาไทยนำมาพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ สร้างตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ให้โดดเด่นในเวทีโลก
กระบวนการพัฒนาทั้ง 3 ขั้นตอน สามารถยกระดับให้ "ทุนคนไทย" หยั่งรากสู่เศรษฐกิจใหม่ โดยจะต้องจัดกิจกรรมส่งเสริมทั้งระดับ ชุมชนทั่วประเทศ ระดับองค์กรทุกขนาด และระดับบุคคลตั้งแต่ชั้นผู้บริหาร ผู้ควบคุมงาน ไปจนถึงผู้ปฏิบัติการ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดความชำนาญ ซึ่งทำได้ไม่ยาก เพราะเป็นสิ่งที่มีิอยู่ในตัวทุกคน เพียงแค่สร้างกระบวนการนำไปใช้ประโยชน์ให้เด่นชัดอย่างมืออาชีพ มีมาตฐาน และสามารถวัดผลได้ชัดเจ้นเท่านั้น
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจและสังคมระดับหมู่บ้าน จึงมีภารกิจโดยตรงที่จะเป็นผู้นำในสร้างความตระหนักรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ และจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนา และฝึกอบรม "ยุทธศาสตร์ทุนคนไทย" เพื่อสร้างกระบวนการจัดการทุนคนไทยอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาทักษะใหม่ให้คนทุกกลุ่มรับมือกับความผันผวนที่เผชิญอยู่ได้ อย่างเป็น "ผู้นำ" ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง
Visitors: 53,137